โครงการวิจัยที่สิ้นสุดแล้ว
ปีงบประมาณ
2557
ชื่อโครงการภาษาไทย
การคัดเลือกสายพันธุ์แบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกและยีสต์จากสุกรในประเทศไทยเพื่อต่อต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคและไวรัส porcine epidemic diarrhea (PED) (ต่อยอดจากปี 2556)
ชื่อโครงการภาษาอังกฤษ
Selection of lactic acid bacteria and yeast isolated from swine in Thailand against pathogenic bacteria and porcine epidemic diarrhea (PED) virus.
เนื้อหาเผยแพร่
     สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยโครงการ การคัดเลือกสายพันธุ์แบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกและยีสต์จากสุกรในประเทศไทยเพื่อต่อต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรคและไวรัส porcine epidemic diarrhea (PED) (ต่อยอดจากปี 2556)” แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์ เพื่อการคัดเลือกสายพันธุ์แบคทีเรียผลิตกรดแลคติกจากสุกรพื้นเมืองสำหรับใช้้เป็นโปรไบโอติกที่เหมาะสมกับอุตสาหกรรมการผลิตสุกรในประเทศไทย โดยเน้นคุณสมบัติในด้านการต้านทานต่อเชื้อแบคทีเรียก่อโรคที่เป็นเชื้อระบาดประจำถิ่น และเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของ porcine epidemic diarrhea (PED)
     จากการศึกษาวิจัยพบว่า สามารถแยกเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกที่มีความสามารถในการผลิตกรดแลคติกจากอุจจาระของสุกรฟาร์มจำนวน 204 เชื้อ หลังจากทำการทดสอบความสามารถในการเป็นโปรไบโอติกที่ดีคือการทดสอบการทนกรด ทนน้ำดี ทนเกลือแกงและอุณหภูมิที่แตกต่างพบว่าจาก จำนวนทั้งหมด 204 เชื้อมี 34 เชื้อที่สามารถเป็นต้นแบบของโปรไบโอติก โดยเชื้อแบคทีเรียผลิตกรดแลคติกที่คัดเลือกมาทำการต่อต้านเชื้อไวรัส PED นั้นพบว่า L. plantarum 25F สามารถลดการเกิด CPE ได้ดีกว่า อีกสี่สายพันธุ์
     ประโยชน์ที่จะได้รับคือได้เชื้อแบคทีเรียที่คัดเลือกมาเป็นโปรไบโอติกมีความสามารถในการยับยั้งและต่อต้านเชื้อไวรัส PED จะสามารถเป็นประโยชน์อย่างมากต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในประเทศไทย และการแนะนำให้เกษตรกรใช้อาหารเสริมโปรไบโอติกทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะจะส่งผลดีต่อชื่อเสียงด้านการผลิตเนื้อสุกรส่งออกของประเทศไทยต่อต่างชาติ